You are currently viewing อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐของโลก

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐของโลก

0 0
Read Time:3 Minute, 39 Second
อริยสัจ4

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐของโลก

     อริยสัจ 4 นั้นประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐของโลก 4 ประการ ได้แก่

1. ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรค คือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ความคิดออกจากทุกข์ วาจาชอบ ปฏิบัติชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ สติชอบ สมาธิชอบ

สิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้ออกจากทุกข์

  1. ทุกข์ 1.1 รู้จักทุกข์ว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์ 1.2 กำหนดรู้  1.3 รู้แล้ว
  2. สมุทัย 2.1 รู้จักสมุทัย ตัณหา ความอยาก 2.2 กำหนดละ 2.3 ละแล้ว
  3. นิโรธ 3.1 รู้จักนิโรธการดับของตัณหา 3.2 ทำให้แจ้ง 3.3 แจ้งแล้ว
  4. มรรค 4.1 รู้จักทางปฏิบัติออกจากทุกข์ 4.2 ทำให้เจริญ 4.3 เจริญแล้ว

รู้จักอริยสัจ 4 ดีอย่างไร

    เป้าหมายของมนุษย์ และสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมาก็คือ “มีชีวิตอย่างมีความสุข” ซึ่งความสุขของแต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันไป บางคนชอบรถ นาฬิกา บ้าน อำนาจ ยศ เงินทอง ความรื่นเริง แต่ความทุกข์ของทุกคนนั้นเหมือนกัน นั่นคือ การแก่ การเจ็บ การตาย การไม่ได้สิ่งที่ต้องการ การพบเจอกับสิ่งที่ไม่ชอบ และการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ของมนุษย์ทุกคน

    อริยสัจ 4 ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เป็นธรรมดาของโลก กฎธรรมชาติที่ไม่มีความแน่นอนและแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา หากเราเข้าใจ อริยสัจ 4 แล้วจะทำให้เรามีความทุกข์น้อยลง และสามารถมีความสุขที่แท้จริงได้

สิ่งที่สำคัญในชีวิต

    สิ่งสำคัญในชีวิตจริงๆก็สภาวะปัจจุบัน อดีตไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ซึ่งจะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราปฏิบัติในปัจจุบัน หากเราทำอะไรไม่ว่าเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี สุดท้ายแล้วเราจะต้องรับผลของสิ่งที่เราทำทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการปฏิบัติในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของทุกๆคน

กรรม = ผลของกรรม

     กรรมมี 2 แบบ คือ 1.กุศลกรรม กรรมดี 2.อกุศลกรรม กรรมชั่ว เกิดจากเจตนาของจิตที่เกิดจากกิเลส ซึ่งมีราคะ (โลภ) โทสะ (โกรธ) โมหะ (หลง) หากเรามีสติอยู่กับปัจจุบันและรู้ว่าหากเราทำกุศลก็จะได้รับผลดี หากทำอกุศลก็จะได้รับผลร้าย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กุศลกรรม 10

กุศลกรรมบถ กรรมดี 10 อย่าง
1. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]
๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้]
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม]
๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ]
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด]
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ]
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ]
๘. อนภิชฌา [ความไม่โลภอยากได้ของเขา]
๙. อัพยาบาท [ความไม่ปองร้ายเขา]
๑๐. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ]

อกุศลกรรม 10

อกุศลกรรมบถ กรรมชั่ว 10 อย่าง
1. ปาณาติบาต [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป]
2. อทินนาทาน [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้]
3. กาเมสุมิจฉาจาร [การประพฤติผิดในกาม]
4. มุสาวาท [พูดเท็จ]
5. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด]
6. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ]
7. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ]
8. อภิชฌา [ความโลภอยากได้ของเขา]
9. พยาบาท [ความปองร้ายเขา]
10. มิจฉาทิฏฐิ [ความเห็นผิด]

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%