You are currently viewing สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบที่ถูกต้อง นำชีวิตเป็นสุขตลอดกาล

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบที่ถูกต้อง นำชีวิตเป็นสุขตลอดกาล

0 0
Read Time:3 Minute, 15 Second
สัมมาทิฏฐิ 10 ความเห็นชอบ

สัมมาทิฏฐิ คืออะไร

    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรมความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ (๓๕)

ความรู้ในอริยสัจ 4

สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ทีฆนิกาย มหาวรรค (๒๙๙)

สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10

ทิฐิสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า  1.ทานที่ให้แล้วมีผล  2.ยัญที่บูชาแล้วมีผล 3.การเซ่นสรวงมีผล 4.ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมี 5.โลกนี้มี 6.โลกหน้ามี 7.มารดามี 8.บิดามี 9.สัตว์พวกที่ผุดเกิดขึ้นมี 10.สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทิฐิสัมปทา

อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

กัมมัสสกตาญาณ

ในญาณวัตถุ หมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า 1. ทานที่ให้แล้วมีผล 2. การบูชาพระรัตนตรัยมีผล 3. โลกนี้มีอยู่ 4. โลกหน้ามีอยู่ 5. มารดามีคุณ 6. บิดามีคุณ 7.สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิมีอยู่ 8. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้

อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ [๘๒๒]

อานิสงส์ สัมมาทิฏฐิ

สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์ (๑๓๕)

สรุปสัมมาทิฏฐิ โดย HUMOR BLOGS

   สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) นั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ผู้ศึกษามีความเห็นชอบที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นปัญญาที่จะนำพาให้จิตหลุดพ้นจากความทุกข์ เพื่อให้จิตมีความเข้าใจตามความเป็นจริงของโลก (เป็นเส้นทางแรกของมรรค 8) ซึ่งความเห็นทางวัตถุที่สามารถเข้าใจได้ง่ายก็คือ สัมมาทิฏฐิ 10 ประการข้างต้น ประกอบกับความเข้าใจในอริยสัจ 4 ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับแห่งทุกข์ และเส้นทางแห่งการดับทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ 5 รูป นามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ควรนำมายึดเป็นตัวตน จิตก็จะค่อยๆคลายกำหนัด ความอยากในตัณหา เข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรม กุศล และรากเหง้าของอกุศล ราคะ โทสะ โมหะ โทษและผลของการกระทำอกุศล เพื่อหลุดพ้นในวงเวียนของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในที่สุด

Happy
Happy
100 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%