0
0
Read Time:2 Minute, 18 Second
อานาปานสติ 16 ขั้น ลมหายใจแห่งความสุข
อานาปานสติ ถือเป็น สติปัฏฐาน 4 ที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวสรรเสริญไว้มากที่สุด เนื่องจากการทำอานาปานสตินั้นสามารถเข้าถึง สติปัฏฐาน 4 ได้ทุกฐานใน 16 ขั้น ทั้ง กาย เวทนา จิต ธรรม เนื่องจากใช้ลมหายใจเป็นหลักให้จิตพักพิงและใช้ลมหายใจเป็นตัวพิจารณาในฐานต่างๆ ดังนี้
1. ฐานกาย
- หายใจออก เข้า ยาวรู้
- หายใจออก เข้า สั้นรู้
- หายใจออก เข้า กระทบในกายรู้
- หายใจออก เข้า เห็นกองลมสงบรู้
2. ฐานเวทนา
- หายใจออก เข้า กำหนดรู้ในปิติ
- หายใจออก เข้า กำหนดรู้ในความสุข
- หายใจออก เข้า กำหนดรู้ในจิตสังขาร (ความคิด)
- หายใจออก เข้า กำหนดระงบในจิตสังขาร (ความคิดหายไป)
3. ฐานจิต
- หายใจออก เข้า พิจารณาจิตมีกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ รู้
- หายใจออก เข้า จิตร่าเริงรู้
- หายใจออก เข้า จิตตั้งมั่นรู้
- หายใจออก เข้า จิตเฉยๆรู้
4. ฐานธรรม
- หายใจออกเข้า เห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ 5 (รูป นาม)
- หายใจออก เข้า เห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์ คลายกำหนัด
- หายใจออก เข้า เห็นว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน ไม่ยึดติดถือมั่น
- หายใจออก เข้า พิจารณะสละคืนขันธ์ 5 ดับซึ่งกิเลส
อานิสงค์ของ อานาปานสติ
- ทำให้ได้รูปฌาน : วิตก(ตรึก) วิจารณ์(ตรอง) ปิติ(อิ่มใจ) สุข(สบายใจ) เอกกัคคตา(จิตรวมเป็นหนึ่ง)
- เป็นเส้นทางสำคัญของมรรคผล อานาปานสติเป็นสาเหตุแห่งการทำให้วิชชาและวิมุตติเต็มบริบูรณ์ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ 7 เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์
- ทำให้จิตสงบ ดับกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอานิสงส์ของอานาปานสติไว้ว่า อานาปานสติสมาธิบุคคลทำให้มากเจริญให้มากแล้ว เป็นธรรมที่ละเอียดและประณีต เป็นธรรมสามารถตัดซึ่งวิตก เช่น กามวิตก เป็นต้น อานาปานสติสมาธิ ย่อมทำความฟุ้งซ่านให้หมดไปจากจิต ที่เกิดจากอำนาจของวิตกทั้งหลายอันทำอันตรายต่อสมาธิ แล้วทำให้จิตมุ่ง ต่ออารมณ์คือลมหายใจเข้าออกเท่านั้น
- ผู้ที่สำเร็จอรหัตผลจะรู้ลมหายใจสุดท้าย รู้อายุสังขารของตนว่าจะอยู่ได้นานเท่าใด และสามารถรู้เวลาที่จะปรินิพพาน ตามธรรมดาผู้ที่เจริญกัมมัฏฐาน อย่างอื่นนอกจากอานาปานสติ บางท่านก็รู้วันตาย บางท่านก็ไม่รู้ แต่ผู้ที่เจริญอานาปานสติ จนกระทั่ง บรรลุพระอรหัตผล ย่อมสามารถกำหนดรู้วันละสังขารได้ ย่อมรู้ว่า เราจะมีอายุอยู่ต่อไปได้เพียงเท่านี้ ไม่เกินไปกว่านี้ จึงทำกิจทุกอย่าง มีการชำระร่างกายและการนุ่งห่ม เป็นต้น