You are currently viewing สติปัฏฐาน 4 สติเพื่อความสุขนิรันดร์

สติปัฏฐาน 4 สติเพื่อความสุขนิรันดร์

0 0
Read Time:2 Minute, 26 Second

สติปัฏฐาน 4 คืออะไร

   สติปัฏฐาน 4 คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ในการมีสติในการภาวนาเพื่อให้รู้แจ้ง เข้าใจความจริงของธรรมชาติ ไม่ให้ถูกกิเลสครอบงำ โดยการใช้จิตพิจารณาตามความเป็นจริงใน 4 ฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ใช้จิตภาวนาพิจารณากายในกาย คือการพิจารณาถึงรูป มีสติอยู่กับกาย ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 6 รูปแบบ

1. อานาปานสติ พิจารณา ลมหายใจ เข้า ออก ซึ่งการพิจารณานั้นสามารถเพิ่มเติมไปอีกได้เป็น 16 ขั้นตอน

2. อิริยาปถบรรพ พิจารณาอิริยาบท ยืน นั่ง นอน

3. สัมปชัญญบรรพ พิจารณาความรู้สึกตัวในการจะทำอะไร กิน เดิน นั่ง มอง พูด

4. ปฏิกูลมนสิการบรรพ พิจารณาร่างกายว่าเป็นสิ่งปฏิกูล

5. ธาตุมนสิการบรรพ พิจารณาร่างกายว่าเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม

6. นวสีวถิกาบรรพ พิจารณาความเป็นซากศพ เมื่อร่างกายเราตายก็จะเน่าเหม็น

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ใช้จิตภาวนาพิจารณาเวทนาในเวทนา คือการพิจารณาถึงความรู้สึกว่าในปัจจุบันเรารู้สึกอย่างไร มีเหตุอะไรที่ทำให้รู้สึก

  1. รู้สึกสุข โดยมีอามิส (กิเลส,กามคุณ)
  2. รู้สึกสุข โดยไม่มีอามิส (ฌาน)
  3. รู้สึกทุกข์ โดยมีอามิส (กิเลส,กามคุณ)
  4. รู้สึกทุกข์ โดยไม่มีอามิส (ความหดหู่ ความง่วงเหงา ความลังเลสงสัย)

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ใช้จิตภาวนาพิจารณาจิตในจิต คือการพิจารณาว่าจิตมีสวะอย่างไร มีราคะ (กามฉันทะ) โทสะ (พยาบาท) โมหะ (หลง) ฟุ้งซ่าน เศร้าหมอง มีสมาธิ หรือไม่

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ใช้จิตพิจารณาธรรมะต่างๆที่เกิดขึ้นภายในใจ ซึ่งสามารถใช้พิจารณาได้หลายอย่าง ได้แก่

  1. นีวรณบรรพ นิวรณ์ 5 ไม่ให้เกิดขึ้นภายในใจ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ (ง่วงเหงา) อุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่าน) และวิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)
  2. ขันธบรรพ ขันธ์ 5 ไม่ให้จิตยึดติดใน รูป นาม
  3. อายตนบรรพ อายตนะ 6 ให้เข้าใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความรู้สึก
  4. โพชฌงคบรรพ โพชฌงค์ 7 สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
  5. สัจจบรรพ อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  6. มรรค 8 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

โดยการพิจารณาทั้งหมดนั้น ไม่ว่าจะเป็น กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดขึ้นชั่วคราว ทุกอย่างมีความเสื่อมไป ไม่มีอะไรถาวร ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือเอา เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าระลึกถึง ท้ายสุดแล้วจิตจะคลายไม่ยึดถือ และละซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรในโลก จะเข้าสู่ความสุขที่เกิดจากความสงบอย่างแท้จริง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
100 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%